เมื่อวันก่อนได้ไปงานศพคุณตาของพี่ณี
เป็นการจัดงานศพแบบจีน ซึ่งไม่เคยไปมาก่อนเลย
เคยเห็นแต่ผ่านๆ พอได้ไปสัมผัสจริงๆ
รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ทรงคุณค่า มีความหมายทุกขั้นตอน
ก็เลยลองมาค้นหาความหมาย เลยเอามาให้อ่านกันด้วย
สุดท้ายก็ขอแสดงความเสียใจกับพี่ณีอีกครั้งนะคะ

กงเต็ก เป็นคำสองคำประกอบเป็นคำใหม่ที่ให้ความหมายครบถ้วนว่า
กง แปลว่า ทำแทน
เต็ก แปลว่า ทำให้
กงเต็ก หมายถึง การที่ลูกหลานทำบุญกุศล ทั้งทำแทนตัวผู้ตายและทำให้ผู้ตายด้วย เพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมาก ๆ และมากพอจะไปขึ้นสวรรค์สุขาวดีขององค์อมิตาภพระพุทธเจ้า
พิธีกงเต็กจะมี 3 แบบด้วยกัน
1. แบบพระจีนเป็นผู้ทำพิธี ซึ่งถ้าต่างนิกายก็มีรายละเอียดต่างกัน ที่เห็นชัดเจนคือช่วงงานพระศพสมเด็จย่า มีการทำ พิธีกงเต็ก หลายครั้งมาก และจากต่างคณะพระจีนกัน
2. แบบคนธรรมดาประกอบพิธี เป็นผู้ชายสวมชุดพระจีนสีขาว
3. แบบกงเต็กจีนแคะ จะเป็นนางหรือ "ชี" ทำพิธี แต่ไม่ใช่นางชีโกนหัว หากเป็นชีซึ่งเป็นสาวสวย แต่งหน้าทำผม สวยงาม บางท่านเรียกนางชีพวกนี้ว่า.... เจอี๊
การทำพิธีกงเต็กจะใหญ่ หรือเล็กขึ้นอยู่กับจำนวนพระที่นิมนต์มาสวด
ถ้าเป็นกงเต็กใหญ่จะต้องนิมนต์พระมาสวด 5 รูปขึ้นไป อาจเป็น 5, 7, 9, หรือ 11 รูปก็ได้
หากนิมนต์พระ 5 หรือ 7 รูปมาสวด เรียกว่า จับอ๊วง หรือจับอ๊วงฉ่ำ
หากนิมนต์รพระ 9 รูปมาสวด เรียกว่า โชยฮุดฉ่ำ
หากนิมนต์พระ 11 รูปมาสวด เรียกว่า เทียงโค่วฉ่ำ
ถ้าเป็นกงเต็กเล็กจะมี 2 อย่าง
1. นิมนต์พระมาสวดรูปเดียว เรียกว่า คุยหมั่งโหล่ว
2. นิมนต์พระมาสวด 3 รูป เรียกว่า จุยฉ่ำ คำว่า "ฉ่ำ" แปลว่า ถวายคือสวดมนต์ถวายพระพุทธและพระโพธิสัตว์นั่นเอง
พิธีกรรมงานกงเต็กจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา เช้า-บ่าย-ค่ำ
โดยทางวัดจีนส่งคนมาจัดสถานที่และเตรียมสิ่งของแต่เช้าตรู่
ก่อนเริ่มพิธี ร้านทำของกงเต็กจะเอาของมาส่งให้ ลูกหลานตรวจนับ รับของให้เรียบร้อย แล้วจัดการเอากระดาษทอง ที่เตรียมไว้มากมายล่วงหน้า ใส่ในบรรดาของกงเต็กชนิดต่าง ๆ ให้มากที่สุด ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองจะมี 3 แบบด้วยกันคือ
1. แบบตั่วกิม หรือจะเรียกว่าค้อซีก็ได้ เป็นกระดาษเงินกระดาษทองแบบแผ่นใหญ่ ลูกหลานเอามาพับเป็นแบบยาว ๆ แหลม ๆ
2. แบบกิมจั้ว เป็นกระดาษเงินกระดาษทองแบบแผ่นเล็ก ลูกหลานเอามาม้วนกลม ๆ แล้วปิดหัวท้ายให้แหลม ๆ
3. แบบทองแท่งสำเร็จรูป เรียกว่า กิมเตี๊ยว
ช่วงเตรียมของกงเต็กนี้ พระจีนจะเป็นผู้เขียน "ใบส่งของ" ให้เหมือนเป็นการจ่าหน้าซองจดหมาย เพื่อให้รู้ว่า.... ผู้รับของคือใคร ผู้ส่งคือใคร ใบกระดาษบอกชื่อผู้ส่งผู้รับนี้ ต้องปิดบนของกงเต็กทุกชิ้น เช่นเดียวกับที่ลูกหลานต้องเอาเสื้อของผู้ตาย เลือกตัวที่ผู้ตายชอบมากที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ตายน่าจะจำลายผ้าได้เนื่องจากเสื้อผ้าจะต้องถูกตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อแปะติดไปกับของทุกชิ้น เพื่อที่ผู้ตายจะได้รู้ว่ากองของกงเต็กที่เผาไปนี้เป็นของท่านและเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาเอาของผิดกองเช่นกัน เพราะแต่ละวันแต่ละวัดจะมีพิธีกงเต็กซ้อนกันหลายงาน
จากนั้นพระจะประจำที่เพื่อเริ่มพิธีสวดมนต์ ลูกหลานจะใส่ชุดกระสอบเต็มชุดใหญ่ นั่งประจำหน้าที่พระพุทธ ลูกชายนั่งหน้าสุด ลูกสะใภ้ลูกสาวนั่งแถวสอง ชั้นเขยและชั้นหลานนั่งแถวหลังตามมา ที่เบื้องหน้าลูกชายมีของกงเต็ก 3 ชิ้นสำคัญ คือ
1. ม้ากงเต็ก
2. นกกงเต็ก
3. โคมวิญญาณ ที่สถิติของวิญญาณผู้ตายระหว่างทำพิธีที่โคมกงเต็กนี้ต้องนำเสื้อผู้ตายมาสวม และมีชื่อผู้ตายเขียนแปะไว้ด้วย
พิธีเริ่มด้วยการเปิดกลอง 3 ตูมดัง ๆ ปี่พาทย์มโหรีบรรเลงรับพระสวด ประสานมนต์ที่หน้าพระพุทธ และพระโพธิ์สัตว์ พิธีกรรมช่วงนี้ เรียกง่าย ๆ ว่า สวดเชิญพระลงมา คือนิมนต์ท่านเป็นประธาน พิธีให้บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล ในช่วงระหว่างพิธีสวด หลังจากที่พระอ่านเอกสารที่เป็นชื่อวัด ชื่อผู้ตาย บ้านเลขที่ ซอย ถนน อันเป็นที่อยู่ของเรา
และบรรดาชื่อลูกหลาน แล้วก็จะนำเอาเอกสารที่อ่านนั้นมาใส่ที่ม้ากงเต็กพร้อมด้วยการทำพิธีที่ม้า ท่านจะเอาธูป 3 ดอก
และเทียนเล่มหนึ่งมาวน ๆ ที่หัวม้า พร้อมสวดคาถาพึมพำ พรมน้ำมนต์จากขันเล็ก ๆ ด้วยนิ้วอย่างมีลีลาน่าดู แล้วใช้ใบทับทิม
พรมตามอีกที จากนั้นพระจะสั่งให้ลูกชายคนโตยกม้ากงเต็กขึ้นจบเพื่อให้เจ้าหน้าที่นำไปเผา ระหว่างพิธีตอนนี้พระรูปอื่น
ก็ยังสวดมนต์หมู่อยู่ หลังจากสวดอีกพอประมาณ พระรูปเดิมก็มาทำพิธีเพื่อส่งนกกงเต็กไปเผาเช่นกัน พิธีกรรมก็เหมือนกัน
กับการเผาม้า ที่ม้าและนกจะมีเทวดานั่งอยู่ สันนิษฐานว่าท่านคงเป็นเทวทูต นำเอกสารของผู้ตายขึ้นไปบอกเง็กเซียนฮ่องเต้ ให้ทราบถึงการตายและพิจารณารับเอาวิญญาณผู้ตายขึ้นสวรรค์ พระสวดอีกครู่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็นำบรรดาของไหว้คือ
1. ข้าว 1 ชาม
2. เหล้า 1 แก้ว
3. น้ำชา 1 แก้ว
4. กับข้าว 3 อย่าง
5. ซาแซ 1 ชุด (หมู ไก่ เป็ด ปลา ตับ)
6. ผลไม้ 5 อย่าง
7. ชกก๊วย 1 อัน สีขาว และให้ลูกหลานจบถวาย เมื่อพระสวดเสร็จ ลูกหลานกราบพระ 3 ครั้ง
พิธีต่อมาคือ การเชิญวิญญาณผู้ตายมาร่วมพิธี มักทำในช่วงบ่ายต้น ๆ พระและลูกหลานย้ายมาที่บริเวณหน้าศพ มีการนำ
ห้องน้ำกงเต็กมาวาง ภายในห้องน้ำมีอ่างขาวใส่น้ำ ในน้ำมีเถ้ากระดาษเงินกระดาษทองเผาไว้ประหนึ่งเป็นน้ำมนต์
และผ้าขนหนูสีขาว ขั้นแรก เจ้าหน้าที่จะเอาเสื้อกงเต็กมาให้ลูกชายไหว้จบ เพื่อเอาไปเผา โคมวิญญาณถูกย้ายมา
ตั้งด้านหน้า พิธีกรรมในช่วงนี้คือ การสวดเชิญวิญญาณมาเข้าพิธี คนจีนมีความเชื่อว่า คนเราเมื่อตายแล้ว เจตภูต
จะสลายแยกเป็น 3 วิญญาณ คำจีนเรียกว่า ซาฮุ้งซิกเพก
ซา แปลว่า สาม
ฮุ้ง แปลว่า วิญญาณ
ชิกเพก แปลว่า เป็นคำทางพระ
เมื่อคนตายแล้ว วิญญาณทั้งสามจะล่องลอย พระจะสวดเชิญดวงวิญญาณทั้งสามนี้ให้มาเข้าพิธี โดยจะเชิญให้ดวงวิญญาณ หนึ่งสถิตที่โคมวิญญาณ ดวงหนึ่งสถิตอยู่ที่รูป ซึ่งเมื่อเสร็จงานศพ ลูกหลานจะ
นำไปขึ้นหิ้งบูชาที่บ้าน และอีกดวงหนึ่งจะสถิตอยู่ที่โลงศพ
ในระหว่างพิธี พระรูปหนึ่งจะเดินไปพรมน้ำมนต์ที่โคมวิญญาณ มีการเดินไปพรมน้ำมนต์ที่รูปผู้ตาย
แล้วก็เลยเข้าไปพรมที่โลง พิธีกรรมในช่วงนี้จึงประหนึ่งการเชิญวิญญาณมาเพื่อสถิตอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า
ทานอาหารเจ และฟังพระสวดมนต์
พิธีเริ่มเมื่อพระจุดเทียนขาวคู่ใหญ่ที่ตั้งหน้าโต๊ะไหว้ จุดธูป 3 ดอกให้ลูกชายคนโตไหว้ แล้วจึงเริ่มสวดมนต์ ที่เมื่อถึงตอนหนึ่งจะมีการส่งตัวคนใช้กงเต็กไปรับใช้ผู้ตาย ลูกหลานต้องคิดชื่อคนใช้เตรียมไว้แล้วบอกพระ โดยมีหลักที่ถือกันว่าจะไม่ตั้งชื่อคนให้เด็ดขาด เพราะเกรงจะเป็นการแช่งคนเป็นให้เกิดเป็นบาปติดตัว
การทำพิธีส่งคนใช้ โดยพระรูปหนึ่งแยกจากการสวดมนต์มากวักมือเรียกสะใภ้ใหญ่ ถ้าไม่มีก็ลูกสาว พากันไปที่ ตุ๊กตาคนใช้ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังโต๊ะไหว้ พระจะบอกบทให้ลูกสะใภ้พูดที่ตุ๊กตาชายว่า "...(เรียกชื่อตุ๊กตา)....
ใช้ให้ทำอะไรต้องไปทำนะ" ว่าแล้วก็เอาธูปที่ติดไฟแดง ๆ จิ้มที่ติ่งหูตุ๊กตาหนึ่งที แล้วก็ไปทำอย่างเดียวกันนี้ที่ตุ๊กตาคนใช้ผู้หญิง ก็เป็นอันจบพิธีกรรมการส่งคนใช้กงเต็กไปรับใช้ผู้ตาย
จนถึงตอนที่วิญญาณต้องอาบน้ำ พระก็จะไปพรมน้ำมนต์ที่ห้องน้ำกงเต็ก ซึ่งห่อเสื้อผ้ากงเต็กถ้ายังไม่ได้เผาแต่ก่อนเริ่มพิธี
ก็จะถูกเผาในช่วงนี้ ช่วงใกล้ ๆ จบก็เป็นการไหว้อาหาร ขนม และผลไม้ให้ผู้ตาย โดยบรรดาลูกชายที่นั่งแถวหน้า ฝ่ายลูกหลานแถวหลังก็ใช้การจับชายเสื้อคนข้างหน้าต่อ ๆ กัน เป็นการร่วมรับบุญ
เมื่อเสร็จพิธี ลูกสะใภ้จะถูกตามตัวให้ยกอ่างน้ำในห้องน้ำกงเต็กไปเททิ้งตามธรรมเนียมที่ลูกสะใภ้ต้องปรนนิบัติพ่อแม่สามี ถ้าไม่มีสะใภ้ก็เป็นหน้าที่ลูกสาวไปแทน
ช่วงบ่ายแก่ ๆ เป็นการไหว้ใหญ่แก่บรรพบุรุษ ของไหว้ประกอบด้วย
1. ข้าวสวย 6 ชาม
2. เหล้า 6 แก้ว
3. น้ำชา 6 แก้ว
4. กับข้าว 5 อย่าง แบ่งเป็น 10 ชุด
5. ซาแซ 1 ชุด
6. ผลไม้ 5 อย่าง 1 ชุด
7. ฮกก๊วยสีแดง 1 อัน
8. อั่งถ่อก๊วย 12 อัน
9. ข้าวสาร 5 กิโลกรัม 1 ถุง
10. ส้ม 24 ใบ
11. ขนมจันอับ 1 กิโลกรัม
จำนวนถ้วยข้าว ตะเกียบ จะมี 6 ชุด
ที่ปักธูปชุดที่ 1 วางกลาง คือชุดปักธูปไหว้อากง - อาม่า หรือบิดามารดา
ที่ปักธูปชุดที่ 2 อยู่ขวา เป็นชุดปักธูปไหว้พ่อตาแม่ยายของคุณพ่อ มีคำจีนเรียกว่า หวั่วกงหวั่วม่า
ที่ปักธูปชุดที่ 3 ตั้งทางซ้าย เป็นชุดปักธูปไหว้พี่น้องของคุณพ่อที่เสียชีวิตไปแล้ว
พระทำพิธีสวดมนต์จนถึงตอนที่ลูกหลานต้องทำการไหว้ อาหารให้บรรพบุรุษ เมื่อไหว้สำรับกับข้าวบนโต๊ะแล้ว ก็ตามด้วย
การไหว้กระดาษเงิน กระดาษทอง
การไหว้หีบเสื้อผ้าให้บรรพบุรุษ ซึ่งจำนวนหีบเสื้อผ้านั้น จะไม่ถูกกำหนดไว้ตายตัว โดยจะนับตามจำนวนของลูกใน คือคนในแซ่ จึงได้แก่ฝ่ายชายและสะใภ้ส่วนลูกนอกคือลูกสาวถือว่าแต่งงานไปแล้วใช้แซ่อื่น คือไปเป็นคนในตระกูลอื่นก็จะไม่ไหว้และไม่ฝากหีบ
เสื้อผ้าไปให้ แต่ถ้าบ้านใดรู้สึกผูกผันอยากไหว้ ก็ไม่ใช่ว่าผิด แต่การไหว้หีบเสื้อผ้าให้ก็ต้องเสียสตางค์ซื้อมา ถ้าเราอยากเสียเงินเพิ่ม ก็เป็นสิทธิของเรา
เสร็จจากการไหว้บรรพบุรุษจะเป็นพิธี "ซึงกิมซัว" แปลว่า ทลายภูเขาทอง เพื่อเป็นนัยอวยพรให้ลูกหลานรุ่งเรือง โดยเป็นการแสดงรำธงของพระจีนปลอม คือผู้ชายใส่ชุดพระสีแดงพร้อมหมวกพระจีนออกมาแล้ว แสดงโชว์เป็นธรรมเนียมเฉพาะ ของคนจีนอำเภอเตี้ยเอี้ยและเป็นธรรมเนียมว่าลูกสาวที่ออกเรือน
แล้วจัดมาไหว้บุพการีให้ได้ชมก่อนจะถึงพิธีกรรมการพาข้ามสะพานกงเต็กไปไหว้พระพุทธในแดนสวรรค์
ก่อนเริ่มพิธีจะต้องมีการไหว้บูชา โดยลูกสาวที่ออกเรือนแล้วเท่านั้นมาจุดธูปไหว้ บอกผู้ตายว่าจะไหว้ "ซึงกิมซัว" โชว์ ที่หน้าโต๊ะไหว้ ที่ตั้งพิเศษอัญเชิญ
ภาพปฏิมาขององค์อมิตาภพระพุทธเจ้ากับของพิเศษอย่างหนึ่งน่าสนใจมาก เป็นถาดใส่ข้าวสาร ขันน้ำมนต์ เหรียญสตางค์ พร้อมซองอั้งเปา
นับตามจำนวนลูกของผู้ตาย ซึ่งถ้าลูกชายคนโตมีลูกชายคนโต ก็ต้องนับเพิ่มอีกหนึ่ง
การข้ามสะพานกงเต็ก
พิธีกรรมข้ามสะพานของลูกหลาน คือการที่พระพาดวงวิญญาณมาส่งยังเขตแดนสวรรค์ โดยมีลูกหลาน กตัญญูตามมาส่งด้วย นั่นเอง ส่งเสร็จก็ข้ามกลับ
โดยทุกครั้งที่ข้ามสะพานลูกหลานทุกคนต้องโยนสตางค์ลงในอ่างน้ำ ประหนึ่งเป็นการซื้อทางให้แก่ผู้ตายและตนเอง แต่จะมีข้อสำคัญว่า ถ้าลูกหลานที่เป็นผู้หญิง
ใครมีประจำเดือนจะไม่ให้ข้ามสะพาน
ก่อนเริ่มพิธีลูกชายคนโตจะถูกต้องไปไหว้บูชาสะพานไหว้ธูป 2 ดอก ขนม และกระดาษเงินกระดาษทอง
พิธีเริ่มจากการสวดมนต์ของพระที่ปะรำหน้าศพ สวดจนได้จังหวะของบทตอน พระทั้งหมดก็จะเดินขบวน โดยพระรูปที่ 2 จะเป็นผู้ถือโคมวิญญาณ
ต่อจากแถวพระคือขบวนลูกหลาน โดยจะไล่ตามศักดิ์ และอาวุโส ลูกในที่นี้คือลูกชายนำหน้า ลูกชายคนโตคือหัวขบวน ตามด้วยลูกชายคนต่อ ๆ มา
ถ้าลูกชายคนโตมีลูกชายตามศักดิ์แล้วลูกชายคนโตของลูกชายคนโตเท่านั้น ก็จะมาต่อท้าย เป็นลูกชายคนเล็ก แล้วจึงตามด้วยลูกสะใภ้ แล้วตามด้วยลูกสาว ตามด้วยลูกเขย แล้วตามด้วยชั้นหลาน
การข้ามสะพานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงข้ามไปและช่วงข้ามกลับ ช่วงแรกจะเป็นการพา ดวงวิญญาณข้ามไปส่ง แดนสวรรค์ เมื่อข้ามไปถึงพระจะหยุดขบวน พระจะวางโคมวิญญาณลงกับที่
เหล่าพระทั้งหมดล้วนก้มกราบพระพุทธ มีการจุดธูป 3 ดอก ให้ลูกชายคนโตไหว้ เพื่อเป็นการไหว้พระพุทธแทนตัวผู้ตาย แล้วปักธูปลงในกระถางธูปของผู้ตายเอง
จากนั้นขบวนพระก็จะพาขบวนลูกหลานข้ามกลับมายังโลกมนุษย์ โดยจะไม่ถือโคมวิญญาณกลับมาด้วย และขากลับจะต้องข้ามสะพานสวนทางกับขาไป ข้ามไปกี่รอบก็ต้องข้ามกลับจำนวนรอบเท่าเดิม
เมื่อถึงโลกมนุษย์ ขบวนพระก็หยุด ลูกชายคนโตจะนำกระถางธูปไปวางไว้ที่ปะรำหน้าศพ เจ้าหน้าที่จะนำหีบเสื้อผ้าของผู้ตายมาวางโดยมีโคมวิญญาณวางซ้อนบนหีบเสื้อผ้าอีกที
จากนั้นลูกหลานนั่งฟังพระสวดต่อ จนจบหนังสือมนต์เล่มสุดท้าย ซึ่งทุกครั้งที่มีการสวดมนต์จบเล่ม พระจะต้องนำ หนังสือมนต์นี้มา ให้ลูกชายเปิดดู แล้วยกสวดมนต์นั้นขึ้นจบถวาย เล่มสุดท้ายก็เช่นกัน
เสร็จพิธี ลูกหลานจะกราบหน้าศพ 4 ครั้ง แล้วเหี่ยมหีบเสื้อผ้ากับโคมวิญญาณเพื่อนำไปเผา เช่นเดียวกับบรรดาของกงเต็กอื่น ๆ ทั้งหมด ลูกหลานต้องช่วยกันเหี่ยมโดยมีหลักการว่าคนอื่นอาจช่วยยกของได้
แต่ลูกหลานเท่านั้นที่ต้องเป็นผู้เหี่ยมของกงเต็กทั้งหลาย และต้องเหยี่มทุกชิ้นไม่ขาดตกสิ่งใด
รวมของที่ใช้ในงานกงเต็ก
ม้า
นก
โคม
ห้องน้ำ
ต้องขอขอบคุณครอบครัว อนุกูลประเสริฐ ที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ รวมไปถึงข้อมูลด้วย
ทีมา http://www.susarn.com/susarnth/th_celemony/th_Chinese/Kongtek.htm
เป็นการจัดงานศพแบบจีน ซึ่งไม่เคยไปมาก่อนเลย
เคยเห็นแต่ผ่านๆ พอได้ไปสัมผัสจริงๆ
รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ทรงคุณค่า มีความหมายทุกขั้นตอน
ก็เลยลองมาค้นหาความหมาย เลยเอามาให้อ่านกันด้วย
สุดท้ายก็ขอแสดงความเสียใจกับพี่ณีอีกครั้งนะคะ

กงเต็ก เป็นคำสองคำประกอบเป็นคำใหม่ที่ให้ความหมายครบถ้วนว่า
กง แปลว่า ทำแทน
เต็ก แปลว่า ทำให้
กงเต็ก หมายถึง การที่ลูกหลานทำบุญกุศล ทั้งทำแทนตัวผู้ตายและทำให้ผู้ตายด้วย เพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมาก ๆ และมากพอจะไปขึ้นสวรรค์สุขาวดีขององค์อมิตาภพระพุทธเจ้า
พิธีกงเต็กจะมี 3 แบบด้วยกัน
1. แบบพระจีนเป็นผู้ทำพิธี ซึ่งถ้าต่างนิกายก็มีรายละเอียดต่างกัน ที่เห็นชัดเจนคือช่วงงานพระศพสมเด็จย่า มีการทำ พิธีกงเต็ก หลายครั้งมาก และจากต่างคณะพระจีนกัน
2. แบบคนธรรมดาประกอบพิธี เป็นผู้ชายสวมชุดพระจีนสีขาว
3. แบบกงเต็กจีนแคะ จะเป็นนางหรือ "ชี" ทำพิธี แต่ไม่ใช่นางชีโกนหัว หากเป็นชีซึ่งเป็นสาวสวย แต่งหน้าทำผม สวยงาม บางท่านเรียกนางชีพวกนี้ว่า.... เจอี๊
การทำพิธีกงเต็กจะใหญ่ หรือเล็กขึ้นอยู่กับจำนวนพระที่นิมนต์มาสวด
ถ้าเป็นกงเต็กใหญ่จะต้องนิมนต์พระมาสวด 5 รูปขึ้นไป อาจเป็น 5, 7, 9, หรือ 11 รูปก็ได้
หากนิมนต์พระ 5 หรือ 7 รูปมาสวด เรียกว่า จับอ๊วง หรือจับอ๊วงฉ่ำ
หากนิมนต์รพระ 9 รูปมาสวด เรียกว่า โชยฮุดฉ่ำ
หากนิมนต์พระ 11 รูปมาสวด เรียกว่า เทียงโค่วฉ่ำ
ถ้าเป็นกงเต็กเล็กจะมี 2 อย่าง
1. นิมนต์พระมาสวดรูปเดียว เรียกว่า คุยหมั่งโหล่ว
2. นิมนต์พระมาสวด 3 รูป เรียกว่า จุยฉ่ำ คำว่า "ฉ่ำ" แปลว่า ถวายคือสวดมนต์ถวายพระพุทธและพระโพธิสัตว์นั่นเอง
พิธีกรรมงานกงเต็กจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา เช้า-บ่าย-ค่ำ
โดยทางวัดจีนส่งคนมาจัดสถานที่และเตรียมสิ่งของแต่เช้าตรู่
ก่อนเริ่มพิธี ร้านทำของกงเต็กจะเอาของมาส่งให้ ลูกหลานตรวจนับ รับของให้เรียบร้อย แล้วจัดการเอากระดาษทอง ที่เตรียมไว้มากมายล่วงหน้า ใส่ในบรรดาของกงเต็กชนิดต่าง ๆ ให้มากที่สุด ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองจะมี 3 แบบด้วยกันคือ
1. แบบตั่วกิม หรือจะเรียกว่าค้อซีก็ได้ เป็นกระดาษเงินกระดาษทองแบบแผ่นใหญ่ ลูกหลานเอามาพับเป็นแบบยาว ๆ แหลม ๆ
2. แบบกิมจั้ว เป็นกระดาษเงินกระดาษทองแบบแผ่นเล็ก ลูกหลานเอามาม้วนกลม ๆ แล้วปิดหัวท้ายให้แหลม ๆ
3. แบบทองแท่งสำเร็จรูป เรียกว่า กิมเตี๊ยว
ช่วงเตรียมของกงเต็กนี้ พระจีนจะเป็นผู้เขียน "ใบส่งของ" ให้เหมือนเป็นการจ่าหน้าซองจดหมาย เพื่อให้รู้ว่า.... ผู้รับของคือใคร ผู้ส่งคือใคร ใบกระดาษบอกชื่อผู้ส่งผู้รับนี้ ต้องปิดบนของกงเต็กทุกชิ้น เช่นเดียวกับที่ลูกหลานต้องเอาเสื้อของผู้ตาย เลือกตัวที่ผู้ตายชอบมากที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ตายน่าจะจำลายผ้าได้เนื่องจากเสื้อผ้าจะต้องถูกตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อแปะติดไปกับของทุกชิ้น เพื่อที่ผู้ตายจะได้รู้ว่ากองของกงเต็กที่เผาไปนี้เป็นของท่านและเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาเอาของผิดกองเช่นกัน เพราะแต่ละวันแต่ละวัดจะมีพิธีกงเต็กซ้อนกันหลายงาน
จากนั้นพระจะประจำที่เพื่อเริ่มพิธีสวดมนต์ ลูกหลานจะใส่ชุดกระสอบเต็มชุดใหญ่ นั่งประจำหน้าที่พระพุทธ ลูกชายนั่งหน้าสุด ลูกสะใภ้ลูกสาวนั่งแถวสอง ชั้นเขยและชั้นหลานนั่งแถวหลังตามมา ที่เบื้องหน้าลูกชายมีของกงเต็ก 3 ชิ้นสำคัญ คือ
1. ม้ากงเต็ก
2. นกกงเต็ก
3. โคมวิญญาณ ที่สถิติของวิญญาณผู้ตายระหว่างทำพิธีที่โคมกงเต็กนี้ต้องนำเสื้อผู้ตายมาสวม และมีชื่อผู้ตายเขียนแปะไว้ด้วย
พิธีเริ่มด้วยการเปิดกลอง 3 ตูมดัง ๆ ปี่พาทย์มโหรีบรรเลงรับพระสวด ประสานมนต์ที่หน้าพระพุทธ และพระโพธิ์สัตว์ พิธีกรรมช่วงนี้ เรียกง่าย ๆ ว่า สวดเชิญพระลงมา คือนิมนต์ท่านเป็นประธาน พิธีให้บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล ในช่วงระหว่างพิธีสวด หลังจากที่พระอ่านเอกสารที่เป็นชื่อวัด ชื่อผู้ตาย บ้านเลขที่ ซอย ถนน อันเป็นที่อยู่ของเรา
และบรรดาชื่อลูกหลาน แล้วก็จะนำเอาเอกสารที่อ่านนั้นมาใส่ที่ม้ากงเต็กพร้อมด้วยการทำพิธีที่ม้า ท่านจะเอาธูป 3 ดอก
และเทียนเล่มหนึ่งมาวน ๆ ที่หัวม้า พร้อมสวดคาถาพึมพำ พรมน้ำมนต์จากขันเล็ก ๆ ด้วยนิ้วอย่างมีลีลาน่าดู แล้วใช้ใบทับทิม
พรมตามอีกที จากนั้นพระจะสั่งให้ลูกชายคนโตยกม้ากงเต็กขึ้นจบเพื่อให้เจ้าหน้าที่นำไปเผา ระหว่างพิธีตอนนี้พระรูปอื่น
ก็ยังสวดมนต์หมู่อยู่ หลังจากสวดอีกพอประมาณ พระรูปเดิมก็มาทำพิธีเพื่อส่งนกกงเต็กไปเผาเช่นกัน พิธีกรรมก็เหมือนกัน
กับการเผาม้า ที่ม้าและนกจะมีเทวดานั่งอยู่ สันนิษฐานว่าท่านคงเป็นเทวทูต นำเอกสารของผู้ตายขึ้นไปบอกเง็กเซียนฮ่องเต้ ให้ทราบถึงการตายและพิจารณารับเอาวิญญาณผู้ตายขึ้นสวรรค์ พระสวดอีกครู่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็นำบรรดาของไหว้คือ
1. ข้าว 1 ชาม
2. เหล้า 1 แก้ว
3. น้ำชา 1 แก้ว
4. กับข้าว 3 อย่าง
5. ซาแซ 1 ชุด (หมู ไก่ เป็ด ปลา ตับ)
6. ผลไม้ 5 อย่าง
7. ชกก๊วย 1 อัน สีขาว และให้ลูกหลานจบถวาย เมื่อพระสวดเสร็จ ลูกหลานกราบพระ 3 ครั้ง
พิธีต่อมาคือ การเชิญวิญญาณผู้ตายมาร่วมพิธี มักทำในช่วงบ่ายต้น ๆ พระและลูกหลานย้ายมาที่บริเวณหน้าศพ มีการนำ
ห้องน้ำกงเต็กมาวาง ภายในห้องน้ำมีอ่างขาวใส่น้ำ ในน้ำมีเถ้ากระดาษเงินกระดาษทองเผาไว้ประหนึ่งเป็นน้ำมนต์
และผ้าขนหนูสีขาว ขั้นแรก เจ้าหน้าที่จะเอาเสื้อกงเต็กมาให้ลูกชายไหว้จบ เพื่อเอาไปเผา โคมวิญญาณถูกย้ายมา
ตั้งด้านหน้า พิธีกรรมในช่วงนี้คือ การสวดเชิญวิญญาณมาเข้าพิธี คนจีนมีความเชื่อว่า คนเราเมื่อตายแล้ว เจตภูต
จะสลายแยกเป็น 3 วิญญาณ คำจีนเรียกว่า ซาฮุ้งซิกเพก
ซา แปลว่า สาม
ฮุ้ง แปลว่า วิญญาณ
ชิกเพก แปลว่า เป็นคำทางพระ
เมื่อคนตายแล้ว วิญญาณทั้งสามจะล่องลอย พระจะสวดเชิญดวงวิญญาณทั้งสามนี้ให้มาเข้าพิธี โดยจะเชิญให้ดวงวิญญาณ หนึ่งสถิตที่โคมวิญญาณ ดวงหนึ่งสถิตอยู่ที่รูป ซึ่งเมื่อเสร็จงานศพ ลูกหลานจะ
นำไปขึ้นหิ้งบูชาที่บ้าน และอีกดวงหนึ่งจะสถิตอยู่ที่โลงศพ
ในระหว่างพิธี พระรูปหนึ่งจะเดินไปพรมน้ำมนต์ที่โคมวิญญาณ มีการเดินไปพรมน้ำมนต์ที่รูปผู้ตาย
แล้วก็เลยเข้าไปพรมที่โลง พิธีกรรมในช่วงนี้จึงประหนึ่งการเชิญวิญญาณมาเพื่อสถิตอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า
ทานอาหารเจ และฟังพระสวดมนต์
พิธีเริ่มเมื่อพระจุดเทียนขาวคู่ใหญ่ที่ตั้งหน้าโต๊ะไหว้ จุดธูป 3 ดอกให้ลูกชายคนโตไหว้ แล้วจึงเริ่มสวดมนต์ ที่เมื่อถึงตอนหนึ่งจะมีการส่งตัวคนใช้กงเต็กไปรับใช้ผู้ตาย ลูกหลานต้องคิดชื่อคนใช้เตรียมไว้แล้วบอกพระ โดยมีหลักที่ถือกันว่าจะไม่ตั้งชื่อคนให้เด็ดขาด เพราะเกรงจะเป็นการแช่งคนเป็นให้เกิดเป็นบาปติดตัว
การทำพิธีส่งคนใช้ โดยพระรูปหนึ่งแยกจากการสวดมนต์มากวักมือเรียกสะใภ้ใหญ่ ถ้าไม่มีก็ลูกสาว พากันไปที่ ตุ๊กตาคนใช้ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังโต๊ะไหว้ พระจะบอกบทให้ลูกสะใภ้พูดที่ตุ๊กตาชายว่า "...(เรียกชื่อตุ๊กตา)....
ใช้ให้ทำอะไรต้องไปทำนะ" ว่าแล้วก็เอาธูปที่ติดไฟแดง ๆ จิ้มที่ติ่งหูตุ๊กตาหนึ่งที แล้วก็ไปทำอย่างเดียวกันนี้ที่ตุ๊กตาคนใช้ผู้หญิง ก็เป็นอันจบพิธีกรรมการส่งคนใช้กงเต็กไปรับใช้ผู้ตาย
จนถึงตอนที่วิญญาณต้องอาบน้ำ พระก็จะไปพรมน้ำมนต์ที่ห้องน้ำกงเต็ก ซึ่งห่อเสื้อผ้ากงเต็กถ้ายังไม่ได้เผาแต่ก่อนเริ่มพิธี
ก็จะถูกเผาในช่วงนี้ ช่วงใกล้ ๆ จบก็เป็นการไหว้อาหาร ขนม และผลไม้ให้ผู้ตาย โดยบรรดาลูกชายที่นั่งแถวหน้า ฝ่ายลูกหลานแถวหลังก็ใช้การจับชายเสื้อคนข้างหน้าต่อ ๆ กัน เป็นการร่วมรับบุญ
เมื่อเสร็จพิธี ลูกสะใภ้จะถูกตามตัวให้ยกอ่างน้ำในห้องน้ำกงเต็กไปเททิ้งตามธรรมเนียมที่ลูกสะใภ้ต้องปรนนิบัติพ่อแม่สามี ถ้าไม่มีสะใภ้ก็เป็นหน้าที่ลูกสาวไปแทน
ช่วงบ่ายแก่ ๆ เป็นการไหว้ใหญ่แก่บรรพบุรุษ ของไหว้ประกอบด้วย
1. ข้าวสวย 6 ชาม
2. เหล้า 6 แก้ว
3. น้ำชา 6 แก้ว
4. กับข้าว 5 อย่าง แบ่งเป็น 10 ชุด
5. ซาแซ 1 ชุด
6. ผลไม้ 5 อย่าง 1 ชุด
7. ฮกก๊วยสีแดง 1 อัน
8. อั่งถ่อก๊วย 12 อัน
9. ข้าวสาร 5 กิโลกรัม 1 ถุง
10. ส้ม 24 ใบ
11. ขนมจันอับ 1 กิโลกรัม
จำนวนถ้วยข้าว ตะเกียบ จะมี 6 ชุด
ที่ปักธูปชุดที่ 1 วางกลาง คือชุดปักธูปไหว้อากง - อาม่า หรือบิดามารดา
ที่ปักธูปชุดที่ 2 อยู่ขวา เป็นชุดปักธูปไหว้พ่อตาแม่ยายของคุณพ่อ มีคำจีนเรียกว่า หวั่วกงหวั่วม่า
ที่ปักธูปชุดที่ 3 ตั้งทางซ้าย เป็นชุดปักธูปไหว้พี่น้องของคุณพ่อที่เสียชีวิตไปแล้ว
พระทำพิธีสวดมนต์จนถึงตอนที่ลูกหลานต้องทำการไหว้ อาหารให้บรรพบุรุษ เมื่อไหว้สำรับกับข้าวบนโต๊ะแล้ว ก็ตามด้วย
การไหว้กระดาษเงิน กระดาษทอง
การไหว้หีบเสื้อผ้าให้บรรพบุรุษ ซึ่งจำนวนหีบเสื้อผ้านั้น จะไม่ถูกกำหนดไว้ตายตัว โดยจะนับตามจำนวนของลูกใน คือคนในแซ่ จึงได้แก่ฝ่ายชายและสะใภ้ส่วนลูกนอกคือลูกสาวถือว่าแต่งงานไปแล้วใช้แซ่อื่น คือไปเป็นคนในตระกูลอื่นก็จะไม่ไหว้และไม่ฝากหีบ
เสื้อผ้าไปให้ แต่ถ้าบ้านใดรู้สึกผูกผันอยากไหว้ ก็ไม่ใช่ว่าผิด แต่การไหว้หีบเสื้อผ้าให้ก็ต้องเสียสตางค์ซื้อมา ถ้าเราอยากเสียเงินเพิ่ม ก็เป็นสิทธิของเรา
เสร็จจากการไหว้บรรพบุรุษจะเป็นพิธี "ซึงกิมซัว" แปลว่า ทลายภูเขาทอง เพื่อเป็นนัยอวยพรให้ลูกหลานรุ่งเรือง โดยเป็นการแสดงรำธงของพระจีนปลอม คือผู้ชายใส่ชุดพระสีแดงพร้อมหมวกพระจีนออกมาแล้ว แสดงโชว์เป็นธรรมเนียมเฉพาะ ของคนจีนอำเภอเตี้ยเอี้ยและเป็นธรรมเนียมว่าลูกสาวที่ออกเรือน
แล้วจัดมาไหว้บุพการีให้ได้ชมก่อนจะถึงพิธีกรรมการพาข้ามสะพานกงเต็กไปไหว้พระพุทธในแดนสวรรค์
ก่อนเริ่มพิธีจะต้องมีการไหว้บูชา โดยลูกสาวที่ออกเรือนแล้วเท่านั้นมาจุดธูปไหว้ บอกผู้ตายว่าจะไหว้ "ซึงกิมซัว" โชว์ ที่หน้าโต๊ะไหว้ ที่ตั้งพิเศษอัญเชิญ
ภาพปฏิมาขององค์อมิตาภพระพุทธเจ้ากับของพิเศษอย่างหนึ่งน่าสนใจมาก เป็นถาดใส่ข้าวสาร ขันน้ำมนต์ เหรียญสตางค์ พร้อมซองอั้งเปา
นับตามจำนวนลูกของผู้ตาย ซึ่งถ้าลูกชายคนโตมีลูกชายคนโต ก็ต้องนับเพิ่มอีกหนึ่ง
การข้ามสะพานกงเต็ก
พิธีกรรมข้ามสะพานของลูกหลาน คือการที่พระพาดวงวิญญาณมาส่งยังเขตแดนสวรรค์ โดยมีลูกหลาน กตัญญูตามมาส่งด้วย นั่นเอง ส่งเสร็จก็ข้ามกลับ
โดยทุกครั้งที่ข้ามสะพานลูกหลานทุกคนต้องโยนสตางค์ลงในอ่างน้ำ ประหนึ่งเป็นการซื้อทางให้แก่ผู้ตายและตนเอง แต่จะมีข้อสำคัญว่า ถ้าลูกหลานที่เป็นผู้หญิง
ใครมีประจำเดือนจะไม่ให้ข้ามสะพาน
ก่อนเริ่มพิธีลูกชายคนโตจะถูกต้องไปไหว้บูชาสะพานไหว้ธูป 2 ดอก ขนม และกระดาษเงินกระดาษทอง
พิธีเริ่มจากการสวดมนต์ของพระที่ปะรำหน้าศพ สวดจนได้จังหวะของบทตอน พระทั้งหมดก็จะเดินขบวน โดยพระรูปที่ 2 จะเป็นผู้ถือโคมวิญญาณ
ต่อจากแถวพระคือขบวนลูกหลาน โดยจะไล่ตามศักดิ์ และอาวุโส ลูกในที่นี้คือลูกชายนำหน้า ลูกชายคนโตคือหัวขบวน ตามด้วยลูกชายคนต่อ ๆ มา
ถ้าลูกชายคนโตมีลูกชายตามศักดิ์แล้วลูกชายคนโตของลูกชายคนโตเท่านั้น ก็จะมาต่อท้าย เป็นลูกชายคนเล็ก แล้วจึงตามด้วยลูกสะใภ้ แล้วตามด้วยลูกสาว ตามด้วยลูกเขย แล้วตามด้วยชั้นหลาน
การข้ามสะพานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงข้ามไปและช่วงข้ามกลับ ช่วงแรกจะเป็นการพา ดวงวิญญาณข้ามไปส่ง แดนสวรรค์ เมื่อข้ามไปถึงพระจะหยุดขบวน พระจะวางโคมวิญญาณลงกับที่
เหล่าพระทั้งหมดล้วนก้มกราบพระพุทธ มีการจุดธูป 3 ดอก ให้ลูกชายคนโตไหว้ เพื่อเป็นการไหว้พระพุทธแทนตัวผู้ตาย แล้วปักธูปลงในกระถางธูปของผู้ตายเอง
จากนั้นขบวนพระก็จะพาขบวนลูกหลานข้ามกลับมายังโลกมนุษย์ โดยจะไม่ถือโคมวิญญาณกลับมาด้วย และขากลับจะต้องข้ามสะพานสวนทางกับขาไป ข้ามไปกี่รอบก็ต้องข้ามกลับจำนวนรอบเท่าเดิม
เมื่อถึงโลกมนุษย์ ขบวนพระก็หยุด ลูกชายคนโตจะนำกระถางธูปไปวางไว้ที่ปะรำหน้าศพ เจ้าหน้าที่จะนำหีบเสื้อผ้าของผู้ตายมาวางโดยมีโคมวิญญาณวางซ้อนบนหีบเสื้อผ้าอีกที
จากนั้นลูกหลานนั่งฟังพระสวดต่อ จนจบหนังสือมนต์เล่มสุดท้าย ซึ่งทุกครั้งที่มีการสวดมนต์จบเล่ม พระจะต้องนำ หนังสือมนต์นี้มา ให้ลูกชายเปิดดู แล้วยกสวดมนต์นั้นขึ้นจบถวาย เล่มสุดท้ายก็เช่นกัน
เสร็จพิธี ลูกหลานจะกราบหน้าศพ 4 ครั้ง แล้วเหี่ยมหีบเสื้อผ้ากับโคมวิญญาณเพื่อนำไปเผา เช่นเดียวกับบรรดาของกงเต็กอื่น ๆ ทั้งหมด ลูกหลานต้องช่วยกันเหี่ยมโดยมีหลักการว่าคนอื่นอาจช่วยยกของได้
แต่ลูกหลานเท่านั้นที่ต้องเป็นผู้เหี่ยมของกงเต็กทั้งหลาย และต้องเหยี่มทุกชิ้นไม่ขาดตกสิ่งใด
รวมของที่ใช้ในงานกงเต็ก
ม้า
นก
โคม
ห้องน้ำ
ต้องขอขอบคุณครอบครัว อนุกูลประเสริฐ ที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ รวมไปถึงข้อมูลด้วย
ทีมา http://www.susarn.com/susarnth/th_celemony/th_Chinese/Kongtek.htm
Comments